ในยุคแรกของการขนส่งสินค้าที่ต้องการอุณหภูมิต่ำในการเก็บรักษา น้ำแข็งจะถูกใช้เป็นตัวกลางในการลดอุณหภูมิของสินค้าในการขนส่ง เนื่องจากขีดจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิที่ทำได้ คือไม่เกิน 0 OC และการเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิปกติ ทำให้เปียกชื้นและต้องระบายน้ำดังกล่าวออกจากระบบการขนส่ง เครื่องทำความเย็น (Mechanical Refrigeration System) จึงถูกพัฒนามาเพื่อทดแทนน้ำแข็งในการขนส่ง จากคุณสมบัติที่สามารถรักษาอุณหภูมิของสินค้าที่ –20 OC โดยใช้ Feon เป็นตัวลดอุณหภูมิ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากตลอดระยะเวลามากกว่า 50 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการรักษาอุณหภูมิของสินค้าที่ต่ำกว่า, สะดวกสบายในการทำงาน และสามารถติดตั้งระบบดังกล่าวไปพร้อมกับรถบรรทุก
ปัจจุบัน การพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมมีเป็นอย่างมาก ประเทศต่างๆ เริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการรณรงค์ให้มีการเลิกใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าว (เนื่องจากใน Feon ประกอบด้วย Chloroflourocarbon (CFC’s) และ Hydrchlorofluorocarbon (HCFC’s) ซึ่งเป็นสารที่มีการรณรงค์ให้เลิกใช้งานในปี 2000) ประกอบกับการพัฒนาการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะต่างๆ เริ่มมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง จึงมีการพัฒนาระบบการทำความเย็นโดยใช้ CO2 เป็นสารในการลดอุณหภูมิแทนเครื่องทำความเย็น ระบบดังกล่าวถูกใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบันเนื่องจากการลดอุณหภูมิในระบบสามารถทำได้ต่ำกว่า (คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง : น้ำแข็งแห้ง จะมีอุณหภูมิเท่ากับ –79 OC) ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำและค่าบำรุงรักษาต่ำมากเมื่อเทียบกับระบบทำความเย็นโดยใช้เครื่องทำความเย็น โดยในขณะทำงานยังไม่เกิดมลภาวะทางเสียง (เสียงดัง) ทางอากาศ (เนื่องจากต้องติดเครื่องยนต์ไว้ตลอดเวลาที่ทำงาน) อื่นๆ โดยสามารถทำให้ Productivity ของรถขนส่งเพิ่มมากขึ้นกว่า 25%
ผลที่ได้จากการศึกษาในกรณีศึกษาของทางบริษัท Wongthong
เป็นการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะต่างๆ เป็นตัวกลางในการทำความเย็น แทนการทำความเย็นด้วยวิธีอื่นๆ เป็นการให้ความเย็นโดยที่ไม่ต้องการพลังงานขับจากเครื่องยนต์ หรือไฟฟ้า
จากการที่คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่มีถึง 3 สถานะคือ ของเหลว, ของแข็ง และก๊าซ ซึ่งในแต่ละสถานะจะมีคุณสมบัติที่ให้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน คือ ในสถานะของเหลวจะให้อุณหภูมิ –20 OC, ในสถานะของของแข็งจะให้อุณหภูมิ –79 OC, ในสถานะก๊าซจะอุณหภูมิที่ขึ้นอยู่กรรมวิธีในการทำให้กลายเป็นก๊าซ เป็นต้น ทำให้สามารถที่จะให้อุณหภูมิที่หลากหลายแก่สินค้า เช่น รักษาอุณหภูมิ –18 OC ให้แก่สินค้าแช่แข็ง, การขนส่งอาหารสด (เนื้อสด) ที่ต้องการอุณหภูมิในการขนส่งประมาณ 0 OC, อื่นๆ
ในการหลักการการรักษาความเย็นของสินค้า คาร์บอนไดออกไซด์จะทำการรักษาอุณหภูมิของบรรยากาศโดยรอบของสินค้าไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเท่ากับทำให้อุณหภูมิของสินค้าไม่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้จะเพียงพอต่อการรักษาความเย็นของอากาศโดยรอบสินค้าตลอดระยะเวลาในการขนส่งที่กำหนดเท่านั้น โดยจะไม่เกิดกระบวนการของลดอุณหภูมิของสินค้า
ข้อดีของการใช้น้ำแข็งแห้งในระบบขนส่ง
1. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งกว่า 50%
2. ไม่มีค่าซ่อมบำรุงรักษาระบบทำความเย็น
3. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถขนส่งให้เพิ่มมากขึ้น โดย Productivity จะเพิ่มมากขึ้นกว่า 30% เนื่องจากไม่ต้องมีการรอเพื่อทำอุณหภูมิก่อนการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้บรรทุก
4. ไม่มีเสียงรบกวนจากการทำงานของเครื่องทำความเย็น
5. ไม่เกิดมลภาวะทางอากาศ เนื่องจากต้องติดเครื่องยนต์ไว้ตลอดเวลาเพื่อเปิดเครื่องทำความเย็น
6. ใช้เวลาในการลดอุณหภูมิในขั้นตอนก่อนการนำสินค้าเข้าตู้ Container สั้นมาก ทำให้เวลาโดยรวมของการขนส่งลดลงกว่า 25%
7. เนื่องจากสินค้าอยู่ภายใต้บรรยากาศของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียลลดต่ำลง
(อ่านต่อ)
– การขนส่งด้วยน้ำแข็ง (1)
– การขนส่งด้วยน้ำแข็ง (2)
– การขนส่งด้วยน้ำแข็ง (3)